เราพูดเรื่องของดินสอไปแล้วในบทความก่อนหน้า
เมื่อมี ดินสอ แล้ว ก็ต้องมี ยางลบ เป็นของคู่กัน ดังนั้นบทความนี้จะพาผู้อ่าน ZUJIPULI
Blog ไปรู้จักเรื่องลบ ๆ ถู ๆ ของยางลบ ที่ไม่ได้มีแค่แบบเดียวหรือใช้แค่ลบเพียงดินสอได้เท่านั้น
รวมทั้งต้นกำเนิดความเป็นมาของยางลบพอคร่าว ๆ กันเถอะ
ต้นกำเนิด
ก่อนหน้าที่จะมียางลบแบบที่ใช้กันในปัจจุบันจะถูกประดิษฐ์ขึ้นมา
ชาวยุโรปใช้ก้อนขนมปังขาวชุบน้ำเพื่อลบรอยดินสอ
แต่เมื่อขนมปังมีความชื้นก็มักจะขึ้นราง่าย ใช้ได้ไม่กี่ครั้งก็เน่าเปื่อยซะแล้ว จนกระทั่งในปี
ค.ศ. 1770 เอ็ดเวิร์ด แนร์น วิศวกรชาวอังกฤษ ค้นพบยางลบโดยบังเอิญจากการหยิบก้อนยางมาลบรอยดินสอแทนก้อนขนมปัง
เขาพบว่ารอยดินสอหายไป นี่จึงทำให้เขาเริ่มศึกษาคุณสมบัติการลบของชิ้นยาง
และริเริ่มผลิตยางลบเพื่อวางขายอย่างจริงจัง
แต่ยางลบของแนร์นไม่ประสบความสำเร็จทั้งในเรื่องของยอดขายและประสิทธิภาพ
(เรียกง่าย ๆ คือทั้งเจ๊งทั้งบ้ง) เพราะยางลบไซส์จิ๋วครึ่งลูกบาศก์นิ้ว (ประมาณ 1
ลูกบาศก์เซนติเมตร) ขายในราคาสูงถึง 3 ชิลลิง ซึ่งแพงเกินไปในสมัยนั้น แถมยังเน่าเร็วพอ
ๆ กับขนมปังชุบน้ำเหมือนเดิมอีก
การค้นพบวิธีรักษาสภาพยางให้คงทนถาวรด้วยสารเคมี
หรือที่เรียกว่า “วัลคาไนเซชัน” เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1839 โดยชาลส์ กู๊ดเยียร์ หรือ
70 ปีหลังจากที่แนร์นประดิษฐ์ยางลบรุ่นแรก
ดังนั้นปฏิกิริยาวัลคาไนเซชันจึงปรับปรุงให้ยางลบมีประสิทธิภาพดีขึ้น
และทำให้ยางลบได้รับความนิยมเป็นวงกว้างตั้งแต่นั้นมา
ชนิดของยางลบ
ยางลบแบ่งออกเป็น
5 ชนิด ตามวัสดุที่นำมาผลิต
1. ยางลบที่ผลิตจากยางพารา
ทุกคนคงคุ้นเคยกับยางลบธรรมชาติชนิดนี้เป็นอย่างดี
ทั้งเป็นยางลบแบบก้อน และแบบที่อยู่ติดกับปลายดินสอ ลบรอยดินสอได้ทั่วไป แต่อาจเสื่อมคุณภาพได้อย่างรวดเร็วเมื่อโดนแดด
2. ยางลบที่ผลิตจากยางสังเคราะห์
ยางลบชนิดนี้ใช้ยางที่สังเคราะห์มาจากยางพาราโคพอลิเมอร์ ทำให้ประหยัดต้นทุนมากกว่าแบบแรก
ส่วนใหญ่ใช้สำหรับงานศิลปะ ลบสีไม้ สีน้ำ เช่น Artgum
ภาพโดย
craftsy
3. ยางลบที่ผลิตจากพลาสติก
ยางลบชนิดนี้มีทั้งแบบเป็นก้อนสีขาวและแบบมีสี
นอกจากลักษณะที่เป็นก้อนแล้ว ยังมีลักษณะอื่น ๆ อีก เช่น Kneaded
erasers (ยางลบนวด) มีลักษณะยืดหดได้
และปั้นได้ ทำให้สามารถลบในจุดเล็ก ๆ ได้ตามต้องการ ยางลบชนิดนี้ใช้วิธีดูดซับแกรไฟต์ออกจากกระดาษ
ทำให้ไม่มีขี้ยางลบเหมือนยางลบชนิดอื่น
ภาพโดย
polarpencilpusher
ภาพโดย
choosemarker
4. ยางลบที่ผลิตจากไวนิล
ยางลบชนิดนี้มีลักษณะแข็งและยืดหยุ่นกว่าชนิดอื่น
ทำให้ลบได้ดีกว่า สะอาดกว่า
และไม่ทำลายผิวหน้ากระดาษ
ภาพโดย
bbblogr
5. ยางลบที่ผลิตจากไฟเบอร์กลาส
ยางลบชนิดนี้มีลักษณะเป็นเนื้อทรายผสมกับเส้นใยแก้ว
จึงสามารถขูดหมึกปากกาได้ ขูดลบรอยปากกาบนเนื้อกระดาษให้หายไป แต่ก็ใช้ลบได้ยากกว่ายางลบชนิดทั่วไป
เมื่อลบแรงไปอาจทำให้กระดาษขาดได้
ภาพโดย plusaround
หลักการทำงานของยางลบ
ในยางลบสำหรับลบดินสอชนิดทั่วไป
วิธีการใช้คือนำยางลบไปถูบนรอยดินสอ อนุภาคของโพลิเมอร์ที่ใช้ทำยางลบจะมีความเหนียวมากกว่าอนุภาคของกระดาษ
ทำให้อนุภาคแกร์ไฟต์บนกระดาษหลุดติดมากับยางลบ ได้ออกมาเป็นขี้ยางลบนั่นเอง ข้อจำกัดของยางลบชนิดนี้คือไม่สามารถใช้ลบสีได้ เพราะว่าสีมีขี้ผึ้งหรือน้ำมันเป็นพื้นฐาน
เมื่อเขียนลงบนกระดาษสีจะเกาะติดผิวกระดาษแน่น ต้องใช้ยางลบสำหรับลบสีโดยเฉพาะ อีกทั้งยังลบหมึกปากกาลูกลื่นไม่ได้เช่นกัน
เพราะเมื่อเขียนลงบนกระดาษ หมึกที่เป็นของเหลวจะซึมลงไปในกระดาษ
ไม่ได้อยู่แค่บนผิวกระดาษเหมือนแกร์ไฟต์ของดินสอ จึงต้องใช้ยางลบแบบไฟเบอร์กลาสดังที่กล่าวไปข้างต้น
เคล็ดลับสั้นๆ ในการใช้ยางลบ
เมื่อเราใช้ยางลบเสร็จแล้ว บนยางลบจะหลงเหลือคราบสกปรกไว้อยู่ เราควรทำความสะอาดคราบนั้นออกไปก่อนที่จะเก็บ โดยสามารถใช้นิ้วถูออกไปได้เลย เพราะไม่งั้นคราบนี้อาจไปติดอยู่บนกล่องดินสอ หรือกระดาษที่เราจะใช้ลบครั้งถัดไปก็เป็นได้
นึกไม่ถึงเลยใช่ไหมว่า
เรื่องลบ ๆ ถู ๆ ของยางลบก้อนเล็ก ๆ ก้อนหนึ่ง จะเกิดขึ้นจากความไม่ตั้งใจ
และเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ยางลบประเภทต่าง ๆ
ที่ไม่ได้มีแค่คุณสมบัติลบดินสอได้เพียงแบบเดียว ซึ่งเราควรเลือกใช้ยางลบให้ตรงตามความต้องการ
และลบอย่างระมัดระวัง มิฉะนั้นแล้วงานวาดเขียนของเราอาจเสียหายได้นะ