ทำไมต้องเป็นแบรนด์ ZUJIPULI
เริ่มต้นในปี 2552 ด้วยแนวคิดที่ต้องการจะนำเสนอสินค้าไลฟ์สไตล์ โดยเฉพาะจำพวกอุปกรณ์เครื่องเขียน ซึ่งเข้ากันได้อย่างเหมาะเจาะและลงตัวกับความหมายของหัวใจนักปราชญ์ คือ สุ-จิ-ปุ-ลิ อันหมายถึง ฟัง คิด ถาม เขียน ทำให้แบรนด์ ZUJIPULI ถือกำเนิดขึ้นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
จากจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในวันนั้น ผ่านเส้นทางที่ท้าทายตลอดระยะเวลา 10 ปี กระทั่งเติบโตอย่างมั่นคงในวันนี้ ผลิตภัณฑ์ของ ZUJIPULI ถูกออกแบบการใช้งานที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ยุคปัจจุบัน ผสมผสานกับดีไซน์เชิง Minimalism ที่เรียบง่ายแต่งดงาม พร้อมกับพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างแตกต่างและหลากหลาย คัดสรรและเฟ้นหาวัตถุดิบที่เหมาะสม ควบคู่กับการใส่ใจคุณภาพทุกรายละเอียด
หากจะมองหาสมุดบันทึกคู่ใจ แปลนเนอร์กำหนดตารางชีวิต กระเป๋าใส่ของกระจุกกระจิก หรืออุปกรณ์เก็บของบนโต๊ะทำงานสุดเก๋ไก๋ ต้องไม่พลาดที่จะปักหมุด ZUJIPULI ให้อยู่ในตัวเลือกลำดับต้นๆ เพราะนอกจากตอบสนองการใช้งานอย่างครบครัน ยังสะท้อนถึงความมีรสนิยมเหนือกาลเวลา และให้ความรู้สึกดีทุกครั้งที่ใช้งานในทุกวัน ตรงกับสโลแกน Feel Good Everyday
อะไรคือ สุ-จิ-ปุ-ลิ
- 'สุ' ย่อมาจาก สุตะ แปลว่า 'ฟัง'
- 'จิ' ย่อมาจาก จินตะ แปลว่า 'คิด'
- 'ปุ' ย่อมาจาก ปุจฉา แปลว่า 'ถาม'
- 'ลิ' ย่อมาจาก ลิขิต แปลว่า 'เขียน'
โดยคำว่า สุ จิ ปุ ลิ มีที่มาจากคาถาบทหนึ่งกล่าวไว้ว่า “สุ จิ ปุ ลิ วินิมุตโต กถํ โส ปณฺฑิโต ภเว" อันหมายถึงผู้ปราศจากการ ฟัง คิด ถาม เขียน ย่อมไม่สามารถเป็นบัณฑิตได้ ซึ่งความเป็นบัณฑิตต้องอาศัยการศึกษาเล่าเรียน ผ่านประสบการณ์เรียนรู้มากมายจากการฟัง คิด ถาม เขียน จนกลายเป็นผู้รู้ พหูสูต หรือนักปราชญ์ ดังนั้นเราจึงยกย่องให้ สุ จิ ปุ ลิ คือ หัวใจนักปราชญ์
อะไรคือ Minimalism
ลัทธิมินิมัลลิสม์ (Minimalism) คือ แนวคิดทางศิลปะและการออกแบบ ที่เริ่มขึ้นหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ราวปลายคริสต์ศตวรรษ 1960 ถึงต้นคริสต์ศตวรรษ 1970 โดยมีความคิดรากฐานจากการลดทอนและลดลงของลัทธิโมเดิร์นนิสม์ (Modernism) เนื่องจากลัทธิ Modernism เป็นผลกระทบจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมและการขยายตัวของสังคมเมือง นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์สิ่งแปลกใหม่และทันสมัย ซึ่งมีแนวคิดที่จะคำนึงถึงคุณค่าและการใช้งานของสิ่งต่างๆ ให้เกิดประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่าที่สุด (Form follows Function) ซึ่งบางครั้งอาจไม่ได้หมายความว่าน้อยก็ได้ ขณะที่ลัทธิ Minimalism หมายถึงความมุ่งมันและความตั้งใจที่จะดำรงชีวิตอยู่กับสิ่งที่จำเป็นจริงๆ ด้วยการลดและการละวางให้เหลือน้อยที่สุด (Less is More) และเน้นค้นหาคำตอบในเชิงลึกจากภายในมากกว่า ซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบที่เรียบง่ายและกระจ่างชัด