Bullet Journal 101

Bullet Journal 101

Product Knowhow | 8 Jan 2021

5,266 Views

แม้จะเป็นนักออกแบบฝีมือฉกาจ แต่อีกแง่มุมนั้น “ไรเดอร์ แคร์รอลล์” ก็คือมนุษย์คนหนึ่งที่ประสบกับปัญหาสมาธิสั้น ไม่ค่อยมีระเบียบวินัย ชอบทำอะไรแบบครึ่ง ๆ กลาง ๆ ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน เขาจึงมีความฝันที่อยากจะจัดระบบระเบียบชีวิตตัวเองเพื่อที่จะประสบความสำเร็จเหมือนกับนักออกแบบชั้นนำคนอื่น ๆ ดังนั้นไรเดอร์จึงเริ่มคิดหาวิธีแก้ปัญหา เริ่มจาก… สมุดบันทึกธรรมดา ๆ เล่มหนึ่ง…

หลังจากลองผิดลองถูกอยู่นาน เขาก็ค้นพบวิธีการจดบันทึกที่ตอบโจทย์ชีวิตสักที ซึ่งนอกจากจะทำให้เขาสามารถโฟกัสกับหน้าที่การงานได้ดีขึ้นแล้ว มันยังช่วยให้ค้นพบว่าชีวิตตัวเองต้องการอะไร สิ่งไหนควรเก็บ สิ่งไหนควรโยนทิ้งไป ในตอนแรก เขาคิดว่าวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลกับเขาเพียงคนเดียว จนกระทั่งเขาได้แชร์วิธีการนี้ให้เพื่อนคนหนึ่งฟังอย่างละเอียด เพราะเห็นว่าเพื่อนกำลังประสบปัญหาคล้าย ๆ กัน โดยหารู้ไม่ว่า นั่นจะเป็นจุดเริ่มต้นของวิถีการบันทึกแบบ “Bullet Journal” หรือ ‘บูโจ’ ที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก 

ไอเดียของ ‘บูโจ’ คือการจัดระเบียบสมุดบันทึก (ที่มักจะไร้ระเบียบ) ให้เข้ารูปเข้ารอย และตอบสนองความต้องการของแต่ละคนให้ได้มากที่สุด ฟังดูเผิน ๆ เหมือนจะง่าย และเชื่อว่าน่าจะมีคนมากมายที่พยายาม ‘ออกแบบ’ สมุดบันทึกของตัวเองให้มีครบทุกฟังก์ชั่นเท่าที่ต้องการ ข่าวดีคือถ้าบังเอิญคุณเป็นหนึ่งในคนเหล่านั้น ขอบอกไว้ตรงนี้เลยว่า คุณไม่จำเป็นต้องงมให้เสียเวลาอีกต่อไป เพราะไรเดอร์ได้เสียเวลามามากพอจนค้นพบวิธีการที่ว่านั้นแล้ว แล้วถ้าเกิดคุณยังลังเลว่ามันจะเวิร์คกับคุณมั้ย ลองเสิร์ชกูเกิ้ลด้วยคีย์เวิร์ด “Bullet Journal” ดูเล่น ๆ ก็ได้ คุณจะพบเรื่องราวของคนมากมายที่ใช้แล้วเวิร์คจริง ๆ แต่การทำบูโจ ทำให้ได้ใช้เวลากับงานอดิเรกที่รัก นั่นคือการประดิษฐ์ตัวอักษร ทุกเส้น ทุกตัวอักษร ทุกภาพ ที่นั่งเขียนนั่งวาดลงในสมุดบันทึก ช่วยให้มือไม่ว่าง

“เมื่อจดปากกาลงบนกระดาษ เราไม่ได้จุดไฟในหัวเท่านั้น

ทว่ายังจุดไฟในตัวด้วยการเขียนทำให้เราคิดและรู้สึกไปพร้อมๆ กัน”

ถ้าถามว่าหัวใจสำคัญของการทำบูโจคืออะไร คำตอบที่แสนจะเรียบง่ายก็คือ การที่คุณได้จดจ่ออยู่กับสมุดและปากกาตรงหน้า ซึ่งนอกจากจะเป็นการ ‘ปิดสวิตช์’ จากข้อมูลที่ไหลบ่าผ่านหน้าจอมือถือหรือแล็ปท็อปของคุณแล้ว ข้อมูลจากงานวิจัยจำนวนมากยังชี้ว่า มันส่งผลในเชิงบวกต่อทั้งระบบความคิด ร่างกาย และจิตใจด้วย

ความเจ๋งของระบบบูโจคือ ทำให้งาน หรือ Task สามารถเคลื่อนย้ายไปมาได้ ตามความแน่นอนของเวลา ดังนี้



Future Log หรืองานที่ต้องทำในอนาคต ถ้าไม่แน่นอน จะเอาไปไว้ในหน้านี้ อารมณ์แบบสักวันนึงแหละต้องทำ ยังไม่แน่ใจ พักมันไว้ก่อน หรือจะเป็นกำหนดการที่น่าจะแน่นอนก็ได้นะ แต่ยังมาไม่ถึง เช่น ต้องไปเที่ยวญี่ปุ่นอีก 3 เดือน หน้านี้จะแบ่งเป็นเดือน ๆ ถัดไป จะ 6 หรือ 12 เดือนก็ได้ แล้วแต่คน แล้วใส่ความคร่าว ๆ นั้นลงไป


Monthly Log หรืองานที่ต้องทำเดือนนี้แหละ โดยแบ่งเป็น 2 มุมมอง มันคือมุมมองของวัน เรียงตามวันที่ เราสามารถเอาอีเวนท์ การนัดหมาย มาใส่ในหน้านี้ได้ BUJO ชอบให้ใส่วันแบบ จันทร์ อังคาร พุธ ประกบวันที่ไว้ด้วย ดูจะได้รู้เลยว่าทำวันไหน อีกมุมมองหนึ่งก็คือ เป็นสิ่งที่ต้องทำแบบ Task List แต่ยังไม่ได้มีวันที่ชัดเจน นี่คือการ Prioritization หรือการจัดลำดับความสำคัญของทั้งเดือนว่าเดือนนี้เราจะโฟกัสกับเรื่องไรบ้าง


Daily Log หรืองานที่ต้องทำวันนี้ หรือสิ่งที่เจอ หรืออีเวนท์ที่ต้องไป โดยจะบันทึกแบบ Rapid Journal อย่างรวดเร็ว (ในระบบถัดไป) โดยเดี๋ยวว่ากันอีกทีว่ามันจดแบบไหนบ้าง

Bullet Journal มีแนวคิดหลักๆ ที่สรุปมาได้ 4 ข้อ ได้แก่

1. ระบบสารบัญเพื่อเชื่อมหน้าทุกหน้าเข้าหากัน แก้ปัญหาเวลาเราจดโน้ตแต่ละครั้ง แล้วหาไม่เจอว่าจดไว้ตรงไหน หรือถ้าเกิดมีการจด 1 เรื่อง หลาย ๆ หน้าสลับไปมา สมองก็จะพังไปหมด แล้วสุดท้ายเราก็จะหนีไปหาสมุดเริ่มใหม่แทน ระบบนี้จะช่วยปัญหาดังกล่าว

2. ระบบย้ายเวลาไปมา ตามความแน่นอนของสิ่งที่ต้องทำ แนวคิดนี้มาแก้ปัญหาว่า หลาย ๆ ครั้งเราพยายามจะกำหนดสิ่งที่ต้องทำให้ชัดเจน และใส่ทุกอย่างไว้ใน Check list ที่ต้องทำ แต่พอถึงเวลาจริง บางงานกลับไม่ได้ทำ พอย้อนกลับไปดู เรารู้สึกเครียด เพราะทำไม่เสร็จ Check list ก็จะทับถมไปมา จนรู้สึกไม่อยากทำแล้ว ทั้งที่จริง ๆ งานบางงาน มันมีความไม่แน่นอนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาตลอด ดังนั้นระบบย้ายเวลาไปมาของ Bullet Journal ทำให้เราอิสระที่จะตัดสินใจในเลือก Task มาทำได้ว่า อันนี้ย้ายไปอนาคตก่อน เดี๋ยวค่อยว่ากัน หรือย้ายไปทำพรุ่งนี้เลย ซึ่งสามารถทำได้ตลอดเวลา


3. ระบบการจดทั้ง “งาน” + “ความทรงจำ” = “ชีวิต” ลงไปในสมุดเล่มเดียว เป็นระบบที่แก้ปัญหาทำให้การจดทุกอย่างรวดเร็วขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผ่านการ ฟัง เห็น แล้วคิดก่อนที่จะจดในรูปแบบของเราเอง ให้สั้น ๆ กระชับ ในการจดสิ่งที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน เพื่อให้มันสามารถกลับมา Reflect เรื่องราวที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต โดยแบ่งประเภทกดจดเป็นสิ่งที่เราต้องเจอในชีวิต ทั้ง งาน อีเวนท์ สิ่งที่อยากจำ และสอดคล้องกับข้อ 2 คือสามารถทำให้มันเคลื่อนไหวไปมาตามความแน่นอนของเวลา

4. ระบบยืดหยุ่นแบบจิ๊กซอว์ คือระบบที่ออกแบบมาเพราะเข้าใจว่า ชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่ละคนมีจุดเน้นไม่เหมือนกัน บางคนชอบเที่ยวบ่อย ๆ ก็อาจจะทำ Collection พิเศษ สำหรับวางแผนท่องเที่ยวขึ้นมา เพื่อแตกอีเวนท์ที่ต้องไป สิ่งที่ต้องจำ สำหรับเรื่องเที่ยวโดยเฉพาะ นอกจากเที่ยวแล้ว ยังทำเรื่องเงิน เรื่องการอ่านหนังสือ หรือเรื่องต่าง ๆ ที่สนใจได้มากมาย แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะออกแบบยังไงบ้าง




อ้างอิง: 

  • https://medium.com/@peesamac
  • https://thecuratorclub.co/the-bullet-journal-method-review/

ที่มาภาพ: 

  • https://mattragland.podia.com/bullet-journal-basics
  • https://bulletjournal.com/


Z4 ST Bullet Journal

Z4 ST Bullet Journal

฿280.00

สมุดบันทึก Z4 Bullet Journal ปกเคลือบผิวสัมผัสนุ่ม
ขนาด : 184 x 254 มม. เนื้อใน : กระดาษกรีนรีด 75 แกรม จำนวน 60 แผ่น

Pine Green
Bullet Journal
รายละเอียดสินค้า

Our Products

Related Posts

Messenger Line