7 อย่างที่ไม่ควรทำในการจดโน้ต

7 อย่างที่ไม่ควรทำในการจดโน้ต

Living Style | 13 Jan 2023

1,740 Views


       การจดโน้ตช่วยจำเป็นถือเป็นเรื่องง่าย ๆ  ที่ใคร ๆ ก็ทำได้ แต่ไม่ใช่ทุกคนจะสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันเนื่องจากพฤติกรรมบางอย่างในการจดโน้ต โดยเราจะมาพูดถึงสิ่งที่ไม่ควรทำในการจดโน้ต ซึ่งนี่เป็นเทคนิคดี ๆ ที่คุณอาจไม่เคยรู้มาก่อน

1.จดไม่เลือก  

     หลาย ๆ คนคงเคยใช้วิธีนี้คือการจดทุกอย่างที่อ่าน/ฟังมา แต่นี่คือสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง เพราะการจดข้อมูลทุกอย่างโดยไม่มีการจำแนกหรือประมวลข้อมูล สิ่งที่ได้คือข้อมูลที่แต่น้ำไม่มีเนื้อ เมื่อกลับมาทบทวนจะยิ่งยุ่งยากเพราะไม่รู้ว่าส่วนไหนสำคัญ

2.จดขณะฟัง

      การจดไปฟังไปเป็นวิธีการยอดนิยม เพราะการจดในลักษณะนี้เป็นการจดที่เน้นความรวดเร็วในการเก็บข้อมูล แต่ปัญหาคือการฟังไปจดไปทำให้สมาธิจดจ่ออยู่กับการจดเป็นหลัก เรียกได้ว่าแทบจะเข้าหูซ้ายทะลุหูขวา การจดไปฟังไปจะนำไปสู่การจดทุกอย่างแต่ดันจำที่ฟังไม่ได้เลย เมื่อกลับมาอ่านก็เจอตัวหนังสืออัดเต็มสมุดบันทึกที่ดูแล้วไม่ชวนอ่านและเต็มไปด้วยข้อมูลที่ไม่จำเป็น ทางที่ดีควรฟังให้จบแล้วค่อยจดทีเดียว ถ้าใช้วิธีนี้เราจะจำแนกได้ว่าเรื่องไหนควรจดไม่ควรจด แต่ถ้ากลัวว่าจะลืมหลังฟังจบ ก็สามารถจดเฉพาะหัวข้อหรือคำสำคัญไว้ในขณะฟังได้เช่นกัน

3.ไม่จัดระเบียบเนื้อหาที่จด

       หรือก็คือการนึกอะไรได้ก็จดอันนั้นการจดแบบไม่มีการลำดับเนื้อหาหรือจำแนกประเภทจะทำให้ข้อมูลที่โน้ตไว้ขาดตอนไม่ต่อเนื่องกัน ทางที่ดีคววางโครงเรื่องของสิ่งที่บันทึกให้ดีว่าประเด็นไหนควรมากก่อน-หลัง อาจจะดูยุ่งยากตอนจด แต่เมื่อนำกลับมาทบทวนข้อมูลจะค้นหาง่ายและมีเนื้อหาต่อเนื่องไม่ต้องพลิกไปพลิกมา


4.ไม่เว้นที่ว่าหลังจดเสร็จในแต่ละหัวข้อ

       เป็นปกติที่เราจดหัวข้อไหนเสร็จก็ขึ้นบรรทัดใหม่เป็นหัวข้อถัดไปทันที ซึ่งนั่นคือข้อผิดพลาดที่หลายคนไม่ทราบ ถ้าไม่เว้นที่ว่างไว้หลังจดหัวข้อนั้นเสร็จ หากเราเจอข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหัวข้อนั้นขึ้นมาแล้วอยากจะจดเพิ่มก็ไม่สามารถทำได้ จนต้องนำข้อมูลใหม่ไปเขียนที่อื่น ซึ่งทำให้ข้อมูลกระจัดกระจายไม่มีหมวดหมู่

5.จดเป็นอยู่แบบเดียว

       ข้อมูลบางอย่างไม่สามารถจดเป็นความเรียงปกติได้ จึงอาจจะต้องใช้กราฟ, แผนภาพ, ตาราง ฯลฯ เพื่อความแม่นยำของข้อมูลที่จด รูปแบบการจดที่ไม่เหมาะกับข้อมูลอาจส่งผลให้ข้อมูลที่โน้ตไว้ผิดเพี้ยนไปได้ เพราะฉะนั้นจึงควรใช้รูปแบบการจดข้อมูลให้หลากหลายยิ่งขึ้น

6.เน้นทุกข้อความการ

       ไฮไลท์หรือขีดเส้นใต้เพื่อเน้นคำหรือเนื้อหา่วนสำคัญถือเป็นเรื่องปกติของการจดโน้ต แต่การไฮไลท์เพื่อเน้นแบบพร่ำเพรื่ออาจทำให้เราไม่ทราบว่าเนื้อให้ส่วนไหนสำคัญที่สุดควรใช้การไฮไลท์และการขีดเส้นใต้อย่างมีวิจารณญาณ


7.ไม่อ่านที่จด

       มีคนจำนวนไม่น้อยที่ชอบจดโน้ตเป็นกิจวัตร และยังอุทิศทั้งเวลาและเรี่ยวแรงเพื่อจดข้อมูลสำคัญไว้ใช้ในภายหลัง แต่ถึงจดโน้ตได้ดีแค่ไหน แต่ถ้าไม่อ่านก็คือสูญเปล่า ซึ่งสาเหตุหลัก ๆ คือการคิดว่าเดี๋ยวค่อยอ่านทีหลังเมื่อพอเดี๋ยวมาก ๆ ก็ลืม กว่าจะรู้ตัวอีกทีคือไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่จดไว้แล้ว เพราะฉะนั้นอย่างน้อย ๆ ควรอ่านทวนสิ่งที่จดไว้ทุกครั้งหลังบันทึกเสร็จจะดีกว่า

       นี่เป็นเพียงเทคนิคเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่นำมาแบ่งปันกับท่านผู้อ่านเท่านั้น หากลด ละ เลิก พฤติกรรมทั้ง 7 ข้อนี้ได้จะช่วยดึงประสิทธิภาพการจดโน้ตได้สูงยิ่งขึ้น แล้วยังช่วยเพิ่มศักยภาพการเรียนและการทำงานให้สูงยิ่งขึ้นไปอีก


อ้างอิง

ภาพ


Our Products

Related Posts

Messenger Line