SQ3R เป็นเทคนิคที่นิยมใช้เพิ่มประสิทธิภาพการอ่านงานเขียนเชิงวิชาการ
ไม่ว่าจะเป็นบทความวิชาการ งานวิจัย หรือแม้แต่หนังสือเรียน/หนังสือสอบ
มุ่งเน้นไปที่การอ่านเพื่อทำความเข้าใจกับเนื้อหาให้ได้มากที่สุด ถูกคิดค้นโดย ฟรานซิส โรบินสัน เมื่อ ค.ศ. 1946
โดยจะมีทั้งหมด 5 ขั้นตอนดังต่อไปนี้
1.Survey (สำรวจ)
เป็นการอ่านหรือดูเนื้อหาผ่านๆ เพื่อรวบรวมข้อมูลเบื้องต้น ไม่ต้องตั้งใจอ่าน แค่ลองดูที่หัวข้อ ตัวหนา ตาราง ภาพประกอบ หรืออะไรที่ดูเตะตา
เพื่อที่จะทำความเข้าใจแบบคร่าว ๆ ว่าเรื่องที่อ่านมีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร
2.question (ถาม)
นำข้อมูลจากขั้นตอนก่อนหน้ามาประมวลเป็นคำถามที่เราอยากจะรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน เช่น
- เรื่องนี้เกี่ยวกับอะไร?
- รูป (ในเรื่อง) จะสื่อถึงอะไร?
- จะได้ประโยชน์อะไรเมื่ออ่านจบ?
3.read (อ่าน)
เริ่มอ่านเนื้อหาอย่างละเอียด
โดยอาศัยข้อมูลจากขั้นที่ 1 และคำถามจากขั้นที่ 2 เป็นตัวช่วย ด้วยการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นและตั้งคำถามก่อนอ่าน
จะช่วยให้เกิดความสนใจต่อเรื่องที่อ่านมากขึ้น เพราะนี่คือการอ่านเพื่อหาคำตอบ
ไม่ใช่การอ่านไปเรื่อย ๆ อย่างไร้จุดหมาย
4.recite (จับประเด็น)
ระหว่างอ่านเนื้อหาในแต่ละส่วนของเรื่องให้ลองจับประเด็นว่าส่วนนั้นเกี่ยวกับอะไร
หรือย้อนกลับไปดูคำถามที่ตั้งไว้ว่าเราได้คำตอบหรือไม่? อย่างไร? การจับประเด็นย่อย
ๆ ในเรื่องจะช่วยให้เราเข้าใจภาพรวมของเรื่องง่ายขึ้น อาจจะแบ่งเนื้อหาง่าย ๆ ด้วยการแบ่งตามย่อหน้า
5.review (ตกผลึก)
เมื่ออ่านจบแล้วให้นำข้อมูลจากขั้นตอนก่อน
ๆ มาวิเคราะห์ว่าใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านคืออะไรกันแน่ เป็นคำอธิบายหรือนิยามด้วยสำนวนของตนเองเพื่อที่จะได้เข้าใจง่าย
ๆ
ทั้งหมดนี้คือเทคนิค SQ3R (survey, question, read, recite, review) 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณจับใจความสำคัญของเรื่องที่อ่านได้ง่ายขึ้น ข้อดีอีกอย่างคือเทคนิคนี้ไม่ได้จำกัดอยู่แค่งานเขียนด้านวิชาการ แต่สามารถใช้ได้กับงานเขียนทุกประเภท ถ้าลองใช้ดู คุณอาจจะเข้าใจเรื่องที่อ่านได้ลึกซึ้งยิ่งกว่าเดิมอย่างที่ไม่เคยรู้มาก่อน
ที่มาภาพ:
- https://img.freepik.com/free-photo/holiday-journey-planning_53876-14450.jpg
- https://www.freepik.com/free-photo/glasses-opening-book-library-cafe_1211638.htm#query=textbooks%20glasses&position=48&from_view=search&track=ais