เมืองไทยเรานี้แสนดีนักหนา ในน้ำมีปลาในนามีข้าว ผลไม้สดหลากรสอร่อย มีให้รับประทานทุกฤดูกาล วันนี้ “น้องบุ๊คโก๊ะ” มีคำถามง่ายๆ มาชวนคุยชวนคิด ใครตอบได้ถูกต้อง น้องบุ๊คโก๊ะจะพาไปตะลุยตะลอนกินผลไม้นี้ให้อร่อยกันถึงถิ่นเชียวนะ
จังหวัดนครพนม ดินแดนแห่งอารยธรรมลุ่มน้ำโขง
เชื่อกันว่าเป็นเมืองศักดิ์สิทธิ์ ศิลปิน ดารา นางเอก นักแสดงของเมืองไทย จึงนิยมไปร่ายรำบวงสรวงต่อองค์พญานาคราช
อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดมสมบูรณ์ การค้าขายเจริญรุ่งเรือง ประชาชนอยู่ดีกินดี
มีวัฒนธรรมชนเผ่าผสมผสานงามจับตา อาหารการกินดี มีปลาแม่น้ำโขงเลิศรส และยังมีผลไม้ราชินีฤดูร้อน
“ลิ้นจี่นครพนม”
“ลิ้นจี่นครพนม” ได้ขึ้นทะเบียนเป็นสินค้าสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์
หรือ GI (Geographical Indication) จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา
รูปลักษณ์ หรือรสชาติ แตกต่างจากจังหวัดอื่นอย่างไร จะเหมือนที่อื่นหรือไม่
วันนี้เราจะมาหาคำตอบกันค่ะ
ลิ้นจี่ เป็นผลไม้ที่มีรสหวาน
นิยมปลูกกันมากในประเทศไทยเนื่องจากมีลักษณะภูมิศาสตร์ที่เอื้ออำนวยต่อคุณภาพของผลผลิต
โดยเฉพาะ ลิ้นจี่พันธุ์ นพ.1 มีลักษณะเด่นคือ ผลขนาดใหญ่ จำนวน
32–36 ผลต่อกิโลกรัม มีรสชาติหวานอมเปรี้ยวนิด ๆ ไม่ฝาด เนื้อหนา ชาวสวนจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนมีนาคมและเดือนเมษายน
ซึ่งเป็นช่วงที่ลิ้นจี่นครพนมมีคุณภาพดี และออกผลมากในช่วงเทศกาลสงกรานต์ของทุกปี
ลิ้นจี่นครพนม มีลักษณะและรสชาติแตกต่างไปจากลิ้นจี่ทั่วไป
สังเกตุได้คือ ลิ้นจี่นครพนมจะมีกลิ่นหอมหวานเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ
รสชาติหวานอมเปรี้ยว ไม่ฝาด เนื้อผลสีขาวขุ่น หนาและแห้ง
มีเส้นใยสูงช่วยย่อยอาหารได้ดี มีเปลือกสีแดงอมชมพู หนามทู่และห่าง จึงเป็นที่ต้องการของนักชิม
นักท่องเที่ยวและเหล่าคนรักสุขภาพทั้งในประเทศและต่างประเทศ
เขาเล่าว่าลิ้นจี่มีสรรพคุณทางยาด้วย ช่วยบรรเทาอาการคัดจมูกและไข้หวัดได้
เพราะเนื้อผลเป็นเหล่งรวมสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินบี
น้ำมันหอมระเหย ฯลฯ คณะเภสัชศาสตร์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เผยผลวิจัยพบว่า สารในเนื้อลิ้นจี่ ช่วยบำรุงตับและ บรรเทาอาการไอเรื้อรัง ช่วยลดกรดในกระเพาะอาหาร
บรรเทาอาการไม่ปกติของระบบทางเดินอาหาร อาการท้องเดิน และมีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งเต้านม
โดยหยุดการเพิ่มและควบคุมการสื่อสารระหว่างเซลล์ จนไปถึงการเหนี่ยวนำให้เกิดการตายของเซลล์มะเร็ง
ในทางวิทยาศาสตร์ มีงานวิจัยพบว่าเนื้อ เมล็ด และเปลือกลิ้นจี่
มีสารกลุ่มฟลาโวนอลที่สำคัญ ซึ่งมีฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้ดี
ผู้รักษารูปร่างจึงเลือกกินเนื้อลิ้นจี่ 1 ถ้วย (6 ผล แกะเมล็ด) ให้พลังงานเพียง 125 แคลอรี่ มีไขมันน้อยกว่า 1 กรัม มีวิตามินบี 2
โพแทสเซียม และมีวิตามินบีสูงมาก ส่วนเปลือกนำมาตากแห้งทำเป็นชา
ชงน้ำร้อนดื่มจะช่วยบรรเทาอาการหวัดและแก้อาการติดเชื้อในลำคอ ส่วนเมล็ดมีฤทธิ์บรรเทาอาการปวดบวมได้
โดยนำมาบดเป็นผงแล้วพอกบริเวณปวด
ด้าน ตำรายาจีนโบราณ นิยมนำผลไม้มงคลที่มีกลิ่นหอม
มาเป็นส่วนประกอบของเครื่องยาจีน ตามความเชื่อว่า
ลิ้นจี่เป็นตัวแทนดวงตาของนางพญาหงส์ หยางกุ้ยเฟย
หนึ่งในสี่สาวงามตำนานแผ่นดินของจีน ชอบกินเนื้อลิ้นจี่
เพื่อถนอมความอ่อนเยาว์ของผิวพรรณให้เป็นที่ต้องตาต้องใจของฮ่องเต้
และได้นำต้นลิ้นจี่มาปลูกไว้ใกล้ตำหนักของนาง
รู้ไว้แล้วบอกต่อกันนะคะ “ลิ้นจี่” มีต้นกำเนิดที่ประเทศจีนตอนใต้ เรียกว่า ลี่จือ (Lychee) ซึ่งความหมายว่า “ของขวัญเพื่อชีวิตที่เบิกบาน” และยังมีความเชื่อว่านี่คือ “ผลไม้แห่งห้วงรัก” ของชาวจีนด้วย จึงทำให้ลูกหลานชาวจีนทุกเพศทุกวัยนิยมรับประทานเนื้อลิ้นจี่ทุกวันๆ ละ 3 ผล
น้องบุ๊คโก๊ะอยากชวนเพื่อนๆ มา กินผลไม้ GI ตามฤดูกาลค่ะ สำหรับในเดือนมีนาคมและเดือนเมษายนปีนี้ เรามาล้อมวงลองชิม“ลิ้นจี่นครพนม” คุณภาพดีเยี่ยมที่ส่งตรงมาจากสวนของเกษตรกรจังหวัดนครพนมค่ะ สั่งจองได้ที่ https://www.zujipuli.com/preorder-product ที่นี่รับกันคุณภาพตามมาตรฐาน GI ด้วยนะคะ
Blogger: บุ๊คโก๊ะ + RookieWriter