เข้าเล่มหนังสือ แบบไหนดีที่สุด?

เข้าเล่มหนังสือ แบบไหนดีที่สุด?

Product Knowhow | 23 Nov 2019

24,202 Views

หนังสือ สมุดบันทึกที่น่าอ่านน่าใช้นั้น นอกจากเนื้อหาและการออกแบบรูปเล่มแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มคุณค่าและความคงทนในการเก็บรักษาได้มากขึ้น คือการเข้าเล่มหนังสือ 

หนังสือมีวิธีการเข้าเล่มหลากหลายรูปแบบ โดยแต่ละแบบมีข้อดี เช่น ความทนทาน ความสวยงาม และความเหมาะสมที่แตกต่างกันออกไป การเข้าเล่มบางวิธีอาจจะทำได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขอื่นๆ ด้วย เช่น ขนาดของหน้าหนังสือ หรือจำนวนหน้า (ความหนาบาง) เป็นต้น 

เราลองมารู้จักการเข้าเล่มแต่ละแบบกันดีกว่า…


1. เข้าเล่มแบบไสกาว (Perfect Binding)


เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากมีความเรียบร้อย ราคาไม่สูงเกินไป ขั้นตอนคือ นำกระดาษที่พับเรียงหน้าเรียบร้อยแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างแล้วนำไปผ่านกาวร้อนติดเข้ากับปก

วิธีนี้เหมาะสำหรับหนังสือที่มีความหนาประมาณ 80 หน้าขึ้นไป (จำนวนหน้าจะหาร 4 ลงตัว เนื่องจากเป็นกระดาษพับ เรียงด้านพับเป็นสันเล่ม หากมีเศษ 2 หน้าจะเป็นแผ่นปลิว ซึ่งจะมีโอกาสหลุดจากเล่มได้ง่าย) เช่น นิตยสาร ตำราเรียน แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือ ด้วยความที่มีความแน่นหนาในการเข้าเล่มไม่มาก จึงทำให้ไม่สามารถกางหนังสือออกได้ 180 องศา ผ่านกาวอัดขอบกระดาษด้านสัน และเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ กาวอาจจะเสื่อมสภาพ ทำให้หน้าหนังสือหลุดออกจากกัน 

การเข้าเล่มวิธีนี้ มีอายุการใช้งานประมาณ 10 ปี แต่หากอยู่ในที่ที่มีอุณหภูมิสูง มีแดดส่อง อายุการใช้งานจะลดลง

รู้หรือไม่! ที่ต้องไสสันก่อนทากาว เพื่อจะทำให้ยึดติดกระดาษได้ดี และนั่นคือที่มาของ “ไสกาว”

2.เข้าเล่มแบบเย็บมุงหลังคา(Saddle Stitching)


เป็นรูปแบบที่นิยมใช้กับการเย็บสมุด หนังสือ ที่มีจำนวนหน้าไม่เกิน 80 หน้า (จำนวนหน้าต้องหาร 4 ได้ลงตัวเสมอ) เช่น นิตยสารแจกฟรีต่างๆ ที่สถานีรถไฟฟ้า วิธีการคือ นำกระดาษทั้งเล่มมาเรียงกันแล้วพับครึ่ง จากนั้นใช้เครื่องเย็บลวด เย็บตรงแนวพับ 2–3 ตัว

  

3. เข้าเล่มโดยเข้าห่วง (Ring Binding)


มีความสวยงาม หลากหลาย เนื่องจากมีวัสดุและสีสันของห่วงให้เลือกมาก ไม่ว่าจะเป็นห่วงพลาสติก หรือห่วงเหล็ก แต่ราคาเล่มการเข้าเล่มแบบนี้จะสูงกว่าแบบไสกาว


ข้อดีของการเข้าเล่มแบบเข้าห่วง คือ สามารถกางหนังสือออกได้ถึง 360 องศา นิยมใช้กับงานพิมพ์ที่มีความหนาตั้งแต่ 0.5–3.2 เซนติเมตร เช่น ปฏิทิน สมุดบันทึก หรือหนังสือคู่มือ ซึ่งจำนวนหน้าของหนังสือที่เข้าเล่มแบบนี้ หากหาร 2ลงตัวก็สามารถเข้าเล่มได้

 

4. เข้าเล่มกาวหัว (Padding)


ใช้สำหรับพวกสมุดฉีก กระดาษโน้ต คูปองส่วนลด ฯลฯ เป็นการเข้าเล่มสำหรับให้ฉีกออกไปใช้ได้ง่าย วิธีการก็ง่ายมาก เอากระดาษมาเรียงกันเป็นตั้ง แล้วเอากาวทาที่สันตรงหัวกระดาษ จึงได้ชื่อว่าการเข้าเล่มแบบ “กาวหัว”

  
5. เข้าเล่มแบบเย็บกี่ (Thread Binding)



เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่ซับซ้อน แต่มีความแข็งแรงที่สุด เหมาะสำหรับใช้เข้าเล่มหนังสือที่มีความหนา เปิดปิดบ่อยจึงต้องการความคงทนเป็นพิเศษ เช่น พจนานุกรม สารานุกรม หนังสืออ้างอิง และนวนิยายชนิดปกแข็งเป็นต้น
การเข้าเล่มแบบเย็บกี่มีวิธีการทำซับซ้อนพอสมควร เริ่มตั้งแต่นำกระดาษเนื้อในทั้งเล่มแยกพับ 8 หน้าบ้าง 16 หน้าบ้าง ตามขนาดหนังสือที่ต้องการ จากนั้นเย็บแยกแต่ละส่วน ในการผลิตจะนับเป็น “ยก” ด้วยเส้นด้าย เรียกว่า “กี่” ซึ่งจะเย็บร้อยแต่ละกี่ รวมกันเป็นเล่มใหญ่ หุ้มด้วยปกอีกชั้นด้วยวิธีผ่านกาว

  

ใน 5 วิธีที่กล่าวมานี้ การเข้าเล่มแบบเย็บกี่ มีต้นทุนแพงที่สุด เนื่องจากวิธีการทำที่ซับซ้อน ยุ่งยาก ผลลัพธ์คือความแข็งแรง ทนทานที่สุด และกางออกได้กว้างถึง 180 องศา แม้ว่ากาวที่นำมาผ่านตรงสัน นานไปอาจค่อยๆ เสื่อมสภาพ แต่การผนึกปกกับเล่มหนังสือด้วยใบพาด ปิดพับสันด้วยเยื่อตาข่าย ทำให้หนังสือหรือสมุดที่เข้าเล่มแบบเย็บกี่อยู่ได้เรียบร้อยดี

ช่างกำลังเข้าเล่มด้วยวิธีเย็บกี่แบบทำมือ

วันนี้ Zujipuli คิดให้คุณมากกว่านั้น เพราะ PLANNER 2019 ของเรา ได้นำสิ่งที่ดีที่สุดจากการเข้าเล่มแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้

โดยผสมผสานระหว่างการเข้าเล่มแบบเย็บกี่ผ่านกาว ไม่ติดกาวที่สัน และเพิ่มให้มีรอยพับครึ่งตรงกลางสัน ผลลัพธ์ที่ได้คือความคงทน และการใช้งานที่กางออกได้จนสุด 180 องศา หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Otabind

เพื่อการใช้งานที่คุ้มค่ากว่า และทนทานกว่ามีอายุการใช้งานเกิน 10 ปีก็คุ้มค่าแล้ว

สมุดบันทึก ZUJIPULI ดีไซน์ใหม่ เข้าเล่มด้วยวิธีเย็บกี่ไสกาว กางออกได้สุด 180 องศา ด้วยการเข้าเล่มแบบ Otabind

Our Products

Related Posts

Messenger Line